ThaiEnglish (UK)

1.สิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหา
ผู้ต้องหา คือ บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดอาญา แต่มิได้ถูกฟ้องต่อศาล
ในระหว่างนี้ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาดังนี้

  1. สิทธิที่จะไม่ถูกจับกุมโดยไม่มีเหตุอันสมควร
  2. สิทธิที่จะได้รับแจ้งให้ทราบว่าถ้อยคำที่ผู้ต้องหากล่าวนั้นอาจเป็นพยานหลักฐานยันเขาในการพิจารณาได้
  3. สิทธิที่จะไม่ตอบคำถามของเจ้าพนักงานสอบสวนเว้นแต่คำถามที่ถามชื่อ หรือที่อยู่ของบุคคลนั้นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือตอบคำถามที่เป็นผลเสียแก่ตนเอง หรือให้การในชั้นสอบสวน
  4. สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม
  5. สิทธิพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายความสองต่อสอง
  6. สิทธิที่จะให้ทนายความหรือซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำของตนได้
  7. สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควร
  8. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับ ขู่เข็ญ ทรมาน หรือใช้วิธีหลอกลวงให้รับสารภาพ
  9. สิทธิที่จะได้รับการพยาบาลโดยเร็วเมื่อเจ็บป่วย
  10. สิทธิในการขอประกันต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วกรณีไม่ได้ประกันต้องได้รับแจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว
  11. สิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านการไม่ให้ประกันตัว
  12. สิทธิที่จะร้องต่อศาลท้องทีที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญาว่าการคุมขังเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย
  13. สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้
  14. สิทธิที่จะขอทราบสรุปพยานหลักฐานพร้อมความเห็นของพนักงานสอบสวนและอัยการในการสั่งคดีในคดีอาญาที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดี

2.สิทธิขั้นพื้นฐานของจำเลย
จำเลย คือ บุคคลที่ถูกฟ้องคดียังศาลโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิดอาญา มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังนี้

  1. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม
  2. สิทธิในการขอประกันต้องได้รับการพิจารณาอย่างรวดเร็วกรณีไม่ให้ประกันต้องแจ้งเหตุผลให้จำเลยทราบโดยเร็ว
  3. สิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านการไม่ให้ประกัน
  4. สิทธิที่จะพบทนายความเป็นการเฉพาะตัว
  5. สิทธิที่จะได้รับการเยี่ยมตามสมควร
  6. สิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐด้วยการจัดหาทนายความให้
  7. สิทธิที่จะแต่งตั้งทนายความเพื่อสู้คดี
  8. สิทธิที่จะตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตนเมื่อพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว
  9. สิทธิที่จะตรวจดูสำนวนของศาลและขอคัดรับรองสำเนาโดยเสียค่าธรรมเนียม
  10. สิทธิที่จะตรวจดูสิ่งของที่ยื่นเป็นพยานหลักฐานและคัดสำเนาหรือถ่ายรูปสิ่งนั้นๆได้
  11. สิทธิที่จะได้รับสำเนาคำฟ้อง
  12. สิทธิที่จะได้รับการอ่านและอธิบายฟ้องให้ฟังและการสอบถามคำให้การจากศาล
  13. สิทธิที่จะให้การต่อสู้คดี
  14. สิทธิที่จะได้การสอบถามเรื่องทนายความก่อนเริ่มการพิจารณาคดี
  15. สิทธิที่จะคัดค้านคดีที่โจทก์ขอถอนฟ้องในคดีที่จำเลยได้ให้การแก้คดีแล้ว
  16. ฯลฯ

ทีมนักกฎหมาย

บทความกฎหมาย

 

นับจำนวนผู้เข้าชม

09072616
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1372
947
5435
9051140
15386
49790
9072616

Your IP: 13.58.77.98
Server Time: 2024-05-08 08:22:25

 

มรรยาททนายความต่อตัวความที่พึงปฎิบัติ ตามข้อบังคับมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 ได้แก่

- กระทำการใดอันเป็นการยุยงส่งเสริมให้มีการฟ้องร้องคดีกันในกรณีอันหามูลมิได้
- ใช้อุบายอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ เพื่อจูงใจให้ผู้ใดมอบคดีให้ว่าต่าง หรือแก้ต่าง
- หลอกลวงให้เขาหลงว่าคดีนั้นจะชนะ เมื่อตนรู้สึกแก่ใจว่าจะแพ้
- อวดอ้างว่าตนมีความรู้ยิ่งกว่าทนายความคนอื่น
- อวดอ้างว่าเกี่ยวเป็นสมัครพรรคพวกรู้จักคุ้นเคยกับผู้ใดอันกระทำให้เขาหลงว่าตนสามารถจะทำให้เขาได้รับผลเป็นพิเศษนอกจากทางว่าความ หรือหลอกลวงว่าจะชักนำจูงใจให้ผู้นั้นช่วยเหลือคดีในทางใด ๆ ได้ หรือแอบอ้างขู่ว่าถ้าไม่ให้ตนว่าคดีนั้นจะหาหนทางให้ผู้นั้นกระทำให้คดีของเขาเป็นแพ้
- เปิดเผยความลับของลูกความที่ได้รู้ในหน้าที่ของทนายความ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากลูกความนั้นแล้ว หรือโดยอำนาจศาล
- กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ อันอาจทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความ
- จงใจขาดนัด หรือทอดทิ้งคดี
- จงใจละเว้นหน้าที่ที่ควรกระทำอันเกี่ยวแก่การดำเนินคดีแห่งลูกความของตน หรือปิดบังข้อความที่ควรแจ้งให้ลูกความทราบ
- ได้รับปรึกษาหารือ หรือได้รู้เรื่องกรณีแห่งคดีใดโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องกับคู่ความฝ่ายหนึ่งแล้วภายหลังไปรับเป็นทนายความหรือใช้ความรู้ที่ได้มานั้นช่วยเหลือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นปรปักษ์อยู่ในกรณีเดียวกัน
- ได้รับเป็นทนายความแล้ว ภายหลังใช้อุบายด้วยประการใด ๆ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เพื่อจะให้ตนได้รับประโยชน์นอกเหนือจากที่ลูกความได้ตกลงสัญญาให้
- กระทำการใดอันเป็นการฉ้อโกง ยักยอก หรือตระบัดสินลูกความ หรือครอบครอง หรือหน่วงเหนี่ยว เงินหรือทรัพย์สินของลูกความที่ตนได้รับมาโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องไว้นานเกินกว่าเหตุ โดยมิได้รับความยินยอมจากลูกความ เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควร