ThaiEnglish (UK)

การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) หรือนิติบุคคล รวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมาย ต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ซึ่งประกอบกิจการอันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด

กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ออกประกาศให้ผู้ประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ

  1. ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
  2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่ง ขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาท ขึ้นไปหรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
  3. นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
  4. ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
  5. ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม
  6. ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
  7. ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
  8. ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ต ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  9. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
  10. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
  11. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
  12. การให้บริการตู้เพลง
  13. โรงงานแปรสภาพ แกะสลักและการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
มีพาณิชยกิจบางอย่างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ

  1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย
  2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
  3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
  4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
  5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
  6. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่
    6.1 บริษัทจำกัด ห้งหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียน ที่เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท และได้ยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนบริษัทไว้แล้วต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ยกเว้นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ที่ประกอบกิจการต่อไปนี้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย
  • (1) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
  • (2) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
  • (3) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ต ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  • (4) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
  • (5) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
  • (6) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
  • (7) การให้บริการตู้เพลง
  • (8) โรงงานแปรสภาพ แกะสลักและการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
  • 6.2 พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515

หน้าที่ของผู้ประกอบกิจการ

  1. ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้น
  2. ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
  3. ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาโดยเปิดเผย ภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษรต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า "สาขา" ไว้ด้วย
  4. ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน
  5. ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ

ห้างหุ้นส่วน

ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ องค์กรในการประกอบกิจการค้ารูปแบบหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมกับกิจการค้าขนาดกลางและขนาดย่อมโดยการจัดตั้งต้องจดทะเบียนและมีสถานะเป็นนิติบุคคล และลักษณะของห้างห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นดังนี้

  1. มีหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
  2. หุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 จำพวก คือไม่จำกัดความรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด กับหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงทุน
  3. หุ้นส่วนทุกคนต้องมีเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาร่วมลงทุนและ
  4. มีความประสงค์จะแบ่งกำไรที่ได้มาจากการร่วมกันประกอบกิจการค้า

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

  • 1. ทำความตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนในเรื่องสำคัญๆ เนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นการประกอบกิจการค้าโดยมีคนหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้องดั้งนั้น เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างประกอบการค้า ผู้ป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงทำความตกลงกันในเรื่องสำคัญๆ ดังต่อไปนี้ไว้ก่อนให้ชัดเจน
  • 1.1 จำนวนเงินลงทุนหรือสิ่งที่หุ้นส่วนแต่ละคนนำมาลงทุน(ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้ ยกเว้นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดจะลงทุนด้วยแรงไม่ได้ การลงทุนด้วยทรัพย์สินหรือแรงงานต้องตีราคาเป็นจำนวนเงินและกำหนดเวลาชำระเงินหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำมาลงทุน(ควรชำระให้ครบก่อนการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน)
  • 1.2 กำหนดขอบเขตหรือกรอบของกิจการค้าที่จะให้หุ้นส่วนจำกัดสามรถประกอบได้ หรือที่เรียกว่า "วัตถุประสงค์"ในปัจจุบันส่วนมากจะกำหนดวัตถุประสงค์ไว้เป็นจำนวนมากๆคล่องตัวในการเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนกิจการค้าจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการดำเนินการจดทะเบียนเพิ่ม หรือเปลี่ยนวัตถุที่ประสงค์แต่การจดทะเบียนวัตถุที่ประสงค์ไว้เป็นจำนวนมากๆนั้นอาจไม่ผลดี เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารประกอบกิจการค้าที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ถนัด และให้อำนาจขวางมากเกินไป
  • 1.3 แต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ (หุ้นส่วนผู้จัดการคือผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งต้องแต่งตั้งจากหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดชอบเท่านั้น)
  • 1.4 การแบ่งส่วนผลกำไรและขาดทุน
  • 1.5 เรื่องอื่นๆ เช่น หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาจัดตั้งห้างเดิม สถานที่ที่จะใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ข้อจำกัดในการใช้อำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ และการตั้งผู้สอบบัญชี เป็นต้น
  • 2. ขอตรวจสอบและจองชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด เนื่องจากในปัจจุบันมีการประกอบกิจการในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อที่คล้ายหรือซำกัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดขึ้นใหม่ต้องตรวจและจองชื่อนิติบุคคลก่อนจะจดทะเบียนจัดตั้ง
  • 3. จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ เมื่อชื่อที่จะดทะเบียนผ่านการตรวจและตอบรับจ่ากเจ้าหน้าที่ว่าไม่คล้านหรือซ้ำกับนิติบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนต้องกรอกรายบะเอียด (โดยวิธีการพิมพ์) ในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามความเป็นจริงในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียน

บริษัท... จำกัด
บริษัทจำกัด คือ องค์กรทางการค้ารูปหนึ่ง ซึ่งเหมาะสำหรับกิจการการค้าที่ขนาดกลางและขนาดใหญ่ และโดยเฉพาะในการประกอบกิจการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากต่างประเทศจะคุ้นเคยกับรูปแบบบริษัทจำกัดมากกว่าห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัดมีลักษณะเป็นดังนี้

  • 1.มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
  • 2.บริษัทจำกัดจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นๆ ละเท่าๆ กัน
  • 3.ผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบจำกัดในหนี้ของบริษัทจำกัดไม่เกินจำนวนเงินตามมูลค่าหุ้นที่ตนถืออยู่และยังส่งใช้ไม่ครบเท่านั้น
  • 4.การจัดตั้งบริษัทจำกัดจะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

การจองใช้ชื่อนิติบุคคล สามารถทำได้ 2 วิธี
วิธีแรก ใช้แบบพิมพ์ที่นายทะเบียนกำหนด ซึ่งการจองชื่อจะขอจองได้คราวละไม่เกิน 3 ชื่อ เรียงลำดับความต้องการก่อนและหลัง เมื่อได้ชื่อแล้วก็ยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อรอให้ตรวจสอบหากชื่อไม่ซ้ำกับชื่อของนิติบุคคลอื่น หรือเป็นชื่อที่ห้ามตามกฎหมาย นายทะเบียนก็จะอนุมัติชื่อเพื่อดำเนินการต่อไป
วิธีที่สอง เป็นวิธีที่สะดวกสำหรับปัจจุบัน คือการจองชื่อทางอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คือ www.dbd.go.th ท่านสามารถสมัครเป็นสมาชิก และดำเนินการขอจองชื่อเช่นเดียวกับวิธีแรกได้เลย
ข้อแตกต่างคือท่านไม่ต้องเดินทางไปดำเนินการที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือทีสำนักทะเบียนธุรกิจ ให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย เมื่อได้หลักฐานที่นายทะเบียนออกมาให้แล้วท่านก็สามารถดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลต่อไป

การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดั้งนี้

  • 1.ขอตรวจและจองชื่อบริษัทจำกัด ที่ประสงค์จะจัดตั้ง ชื่อภาษาไทยและชื่อภาษาอังกฤษ ต้องมีความหมายถูกต้องตรงกัน และมีคำเขียนที่ถูกต้อง
  • 2.จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิและนำหนังสือบริคณห์สนธิไปจดทะเบียน เมื่อชื่อบริษัทจำกัดที่ประสงค์จะจัดตั้งนั้นผ่านการตรวจสอบและตรวจรับจากเจ้าหน้าที่ว่าไม่คล้ายหรือซ้ำกับนิติบุคคลอื่นผู้ริเริ่มก่อตั้งบริษัทหรือที่เรียกว่า ผู้เริ่มก่อการ ซึ่งจะต้องมีอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป ต้องร้วมกันทำหนังสือบริคณห์สนธิและนำไปจดทะเบียน
  • 3.ประชุมจัดตั้งบริษัท หลังจากจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและหุ้นทั้งหมดมีผู้จองซื้อครบแล้ว ให่ผู้เริ่มก่อการนัดผู้ซื้อหุ้นทุกคนประชุมจัดตั้งบริษัท เพื่อทำความตกลงในเรื่องต่างๆ เช่น ตั้งข้อบังคับบริษัท ให้สัตยาบันสัญญาหรืออนุมัติค่าใช้จ่ายที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำหรือออกไปแล้ว กำหนดจำนวนและสภาพของหุ้นบุริมสิทธิ (ถ้ามี) กำหนดจำนวนหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิที่จะออกทดแทนการลงทุนด้วยอย่างอื่นนอกจากเงิน เลือกแต่งตั้งกรรมการและกำหนดผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการลงชื่อแทนบริษัท แต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดเงินค่าจ้างเป็นต้น
  • 4.ผู้เริ่มก่อการมอบกิจการงานทั้งหมดให้คณะกรรมการบริษัท
  • 5.คณะกรรมการเรียกเก็บเงินค่าหุ้นจากผู้จองซื้อหุ้น โดยจะเรียกเก็บครั้งเดี่ยวเต็มมูลค่าหรือเรียกเก็บครั้งแรกไม่น้อยกว่าหุ้นละ 25% ก็ได้
  • 6.จัดทำคำขอและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด

หน้าที่ของบริษัทจำกัด

  • 1.บริษัทจำกัด ต้องทำงบการเงินอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน โดยมีผู้สอบบัญชีอย่างน้อยหนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน ทั้งนี้รวมถึงบริษัทที่แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
  • 2.จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ประชุมใหญสามัญผู้ถือหุ้น และให้นำส่งต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ประชุม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
  • 3.ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ ภายหลัง 6 เดือน นับแต่วันจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และจัดประชุมครั้งต่อไปอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกระยะเวลา 12 เดือน
  • 4.ต้องจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
  • 5.ต้องจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง
รายการจดทะเบียนที่ต้องยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง มีดังนี้

  • 1. เลิกชนิดประกอบกิจการ บางส่วน และ/หรือเพิ่มใหม่
  • 2. เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ
  • 3. ย้ายสำนักงานใหญ่
  • 4. เปลี่ยนผู้จัดการ
  • 5. เจ้าของหรือผู้จัดการย้ายที่อยู่
  • 6. เพิ่มหรือลดเงินทุน
  • 7. ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขา โรงเก็บสินค้า หรือตัวแทนค้าต่าง
  • 8. อื่นๆ เช่น เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล หรือรายการที่จดทะเบียนไว้ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง

รายการจดทะเบียนที่ห้างหุ้นส่วนจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม

  • 1. ชื่อห้างหุ้นส่วน
  • 2. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
  • 3. วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
  • 4. ผู้เป็นหุ้นส่วน
  • 5. หุ้นส่วนผู้จัดการ
  • 6. ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ
  • 7. ตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน
  • 8. รายการอื่นๆ ที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ
  • 9. ควบห้างหุ้นส่วน

รายการจดทะเบียนที่บริษัทจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม

  • 1. การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการตั้งบริษัท
  • 2. มติพิเศษของบริษัทให้
  • (1) เพิ่มทุน
  • (2) ลดทุน
  • (3) ควบบริษัท
  • 3. ควบบริษัท
  • 4. แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิภายหลังตั้งบริษัท
  • 5. เพิ่มทุน
  • 6. ลดทุน
  • 7. กรรมการ
  • 8. จำนวนหรือชื่อกรรมการชื่อลงชื่อผูกพันบริษัท
  • 9. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
  • 10. ตราของบริษัท
  • 11. รายการอื่นที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ

การขอหมายเลขผู้เสียภาษี
บุคคลธรรมดา ได้แก่

  • ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (แต่ปัจจุบันใช้เลขบัตรประชาชนแทน)
  • ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

คณะบุคคล คณะบุคคลที่ไม่ใช่บุคคล
นิติบุคคล ได้แก่

  • บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายไทย
  • บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายของต่างประเทศ และกระทำกิจการในประเทศไทย หรือ ทำกิจการขนส่งผ่านประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย กิจการร่วมค้า
  • กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยองค์การ หรือรัฐบาลต่างประเทศ
  • มูลนิธิหรือสมาคม(เฉพาะที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายไทย) ที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิ หรือ สมาคม ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสาธารณกุศล
  • ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้ ได้แก่ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินทุกประเภท ซึ่งมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยผู้จ่ายเงินได้ ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ หน่วยงานของราชการ รัฐวิสาหกิจ เทศบาล สุขาภิบาล สหกรณ์ โรงเรียนราษฏร์ มูลนิธิหรือสมาคม ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล เป็นต้น

ขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีเมื่อใด
บุคคลธรรมดา ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ยังไม่เคยมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ให้ยื่นคำร้อง(ลป.10)ขอมีเลขฯและ บัตรฯ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือวันที่เริ่มประกอบกิจการในประเทศไทยแล้วแต่วันใด จะเป็นวันหลัง

หลักฐานและเอกสารในการขอมีเลขฯและบัตรฯ แบบคำร้อง ลป. 10 และเอกสารประกอบแยกเป็นกรณีดังนี้
บุคคลธรรมดา

  • สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • หนังสือรับรองและยินยอมให้ใช้ที่อยู่จากที่ทำงาน หรือจากที่พักอาศัย หากมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด(ถ่ายสำเนา ทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านด้วย)
  • หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่อาจมาด้วยตนเอง)
  • ถ้านิติบุคคลขอเลขฯ และบัตรฯ แทนพนักงาน ให้แนบสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลจาก กระทรวงพาณิชย์ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของกรรมการผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจลงนาม

คณะบุคคล

  • สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ร่วมคณะทุกคน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งคณะบุคคล
  • สำเนาสัญญาหรือข้อตกลงการจัดตั้งคณะบุคคล (ถ้ามี)
  • หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้มีอำนาจไม่อาจมาด้วยตนเอง)

นิติบุคคล

  • สำเนาหรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์
  • สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของกรรมการผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจลงนาม
  • หนังสือยินยอมจากเจ้าบ้านหรือเจ้าของสถานที่ หรือสัญญาเช่า แล้วแต่กรณี
  • สำเนาบัตรและทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านหรือของผู้ให้เช่า
  • กรณีไม่มีเจ้าบ้าน ให้แนบสัญญาซื้อขาย พร้อมทะเบียนสถานที่ประกอบการ
  • หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้มีอำนาจไม่อาจมาด้วยตนเอง)

สถานที่ยื่นคำร้องขอมีเลข(หน่วยออกบัตรฯ) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่ฝ่ายกรรมวิธีสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ (สพท.) ทุกแห่ง หรือ ที่ฝ่ายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของกองกรรมวิธีแบบแสดงรายการภาษี กรมสรรพากร (ไม่ใช่สำนักงานเขต ที่ยื่นเสีย ภาษี)
จังหวัดอื่น

  • ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอเมือง หรืออำเภอที่ตั้งสำนักงานสรรพากรจังหวัด ให้ยื่นที่สำนักงานสรรพากรจังหวัด
  • ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอบางละมุง ให้ยื่นที่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 9 ส่วนผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอหาด ใหญ่ ให้ยื่นที่สำนักงานภาษีสรรพากร พื้นที่ 10
  • ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภออื่น ให้ยื่นคำร้องที่สำนักงานสรรพากรอำเภอ ที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่นั้น
  • ผู้ที่มีภูมิลำเนาและสถานที่ทำงานอยู่ต่างจังหวัดกัน จะยื่นคำร้อง ณ หน่วยออกบัตรฯ ซึ่งมีสถานที่ทำงานตั้งอยู่ก็ได้

การจดทะเบียนภาษีมูลเพิ่ม
1.ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร
คะ บางคนก็สงสัย ว่า มันคืออะไร ก็คือ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 7 ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา 100 บาท และมีภาษีซื้อ 7 บาท เมื่อผลิตเป็นสินค้าขายในราคา 300 บาท ตอนขายไปจะต้องคิดหรือบวกภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 21 บาท ดังนี้ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน 21-7 = 14 บาท เป็นต้น ถ้าการซื้อ และขายเกิดขึ้นภายในรอบการจ่ายภาษีเดียวกัน

2.ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมือใด
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกว่า VAT ปัจจุบันมีอัตรา 7 % ภาษีมูลค่าเพิ่มบางกิจการได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดเพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน เนื่องจากถ้าให้เจ้าของกิจการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนี้จะถูกผลักไปที่ผู้บริโภค เช่น กิจการเกี่ยวกับการขนส่ง กิจการค้าผืชผลทางการเกษตร แต่บางครั้งเจ้าของกิจการไม่ทราบว่าต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เพราะดูก้ำกึ่ง ก็ควรสอบถามกับทางกรมสรรพากร แต่ถ้าหากใช้บริการสำนักงานบัญชี ซึ่งก็จะได้รับคำปรึกษาทางนี้ได้ บางกิจการที่ดูก้ำกึ่งเช่น กิจการจำหน่ายสุนัข และขายอุปกรณ์ในการดูแลสุนัข ต้องดูว่ารายได้หลักคืออะไร ถ้าหากขายอุปกรณ์เป็นรายได้หลัก ก็จะเข้าเกณฑ์ที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการขายอาหาร ก็ไม่ใช่เป็นการขายพืชผลทางการเกษตร แต่เป็นการขายสินค้า ซึ่งก็คืออาหาร ก็ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม

หลักเกณฑ์ในการขอจดภาษีมูลค่า ก็คือ นิติบุคคลใด ที่มีรายได้ไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ก็ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากมีความประสงค์จะขอเข้าจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนก็ได้ แต่ถ้าเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มิฉะนั้นจะต้องถูกประเมินภาษี ผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สามารถออก ใบกำกับภาษี ให้กับลูกค้าได้ ดังนั้นจะพิจารณาว่า จะจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มดีหรือไม่ ให้พิจารณาจาก

  • 1.ต้องการออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าหรือไม่ หรือลูกค้าต้องการใบกำกับภาษีจากเรา ดังนั้นเราต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มแน่นอน (เพราะผู้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีได้ ก็คือผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
  • 2.มีรายได้ถึง 1,800,000 บาทหรือไม่ ถ้าถึง ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • 3.พิจารณาว่า กิจการเรา ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เช่น กิจการขนส่ง เป็นต้น

นอกจากที่กล่าวมาแล้ว บุคคลธรรมดา ที่รับงานส่วนตัว และให้บริษัทหรือนิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นค่าจ้าง ค่าบริการ ฯลฯ ถ้าหากรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ก็ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน เรื่องนี้ต้องระวังเพราะถูกภาษีย้อนหลังกันเยอะ โดยส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ว่า บุคคลธรรมดาต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
หลักฐานและเอกสารในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เอกสารที่ต้องใช้ดังนี้
นิติบุคคล(บริษัท,ห้าง)

  • 1..สำเนาหนังสือรับรองพร้อมวัตถุประสงค์ ไม่เกิน 1 เดือนและใบสำคัญการจดทะเบียน เซ็นรับรองประทับตรา
  • 2..สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของกรรมการตามอำนาจในหนังสือรับรอง
  • 3.สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ (กรณีเป็นบริษัท)และบัญชีผู้หุ้น (บอจ.5)
  • 4.สำเนารายงานการประชุมหรือข้อบังคับ(กรณีเป็นบริษัท)
  • 5.สำเนาสัญญาเช่า(กรณีเช่า)หรือหนังสือยินยอมที่ตั้งประกอบการ พร้อมหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย,โฉนดที่ดิน
  • 6. สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ประกอบการ
  • 7.สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ให้เช่าหรือผู้ให้ความยินยอมแล้วแต่กรณี
  • ถ้าเช่า ต้องเช่าในนามนิติบุคคล(บริษัท,ห้าง)และติดอากรให้เรียบร้อย(1000ละ1บาท/เดือน/ปี)
  • 8.แผนที่ตั้งและภาพถ่ายแสดงให้เห็นป้ายชื่อบริษัทและเลขที่สถานที่ตั้งสำนักงาน
  • 9.-หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่อาจมาด้วยตนเอง)
  • 10.แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภพ.01) (ผู้จดทะเบียนเตรียมให้)

อนึ่ง
ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในวันจดทะเบียน ต้องนำเอกสารตัวจริงทุกอย่างไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย ดังนี้

  • 1.หนังสือรับรองพร้อมวัตถุประสงค์
  • 2.หนังสือบริคณห์สนธิ (กรณีเป็นบริษัท)
  • 3.รายงานการประชุม(กรณีเป็นบริษัท)
  • 4.บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของกรรมการ,หุ้นส่วนผู้จัดการ
  • 5.บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน
  • 6.สัญญาซื้อขายหรือโฉนดที่ดิน
  • 7.ทะเบียนบ้านสถานที่ประกอบการ

สถานที่ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเขตกรุงเทพมหานคร

  • ให้ยื่นที่ฝ่ายทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ (สพท.) ทุกแห่ง
  • ยื่นขอจดทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ททางเว็บไซด์สรรพรกร http://rdserver.rd.go.th/online/regFrameset5.html

จังหวัดอื่น

  • ให้ยื่นจดทะเบียนที่ตั้งสรรพากรอำเภอหรือให้ยื่นที่สำนักงานสรรพากรจังหวัด
  • ยื่นขอจดทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ททางเว็บไซด์สรรพรกร http://rdserver.rd.go.th/online/regFrameset5.html

อนึ่ง

  • ในการจดทะเบียนผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้น จะอนุมัติการจดทะเบียน ล่าช้าไปประมาณ 15 วัน

ระบบประกันสังคม
ระบบประกันสังคม (Social Security) หนึ่งในบริการด้านสวัสดิการสังคมของไทย
การดำเนินงานของการประกันสังคมมีอยู่ในหลายๆ ประเทศ ซึ่งในปัจจุบันได้มีหลักการ ที่ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากการประกันสังคมเป็นโครงการการบริการทางสังคมระยะยาวอีกระบบหนึ่งที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดขึ้น ด้วยการให้ประชาชนผู้มีรายได้แต่ละคนได้มีส่วนช่วยตนเองหรือครอบครัว โดยร่วมกันเสี่ยงภัยหรือช่วยเหลือบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนซึ่งกันและกันระหว่าง ผู้มีรายได้ในสังคม โดยมีนายจ้าง ลูกจ้าง และในบางประเทศมีรัฐบาลร่วมออกเงินสมทบเข้ากองทุนนี้ด้วย กองทุนนั้นจะจ่ายประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ส่งเงินสมทบเมื่อเกิดความเดือดร้อน เช่น เจ็บป่วย คลอดบุตร ว่างงาน ชราภาพ เป็นต้น
ประเทศไทย ได้มีความพยายามที่จะนำระบบประกันสังคมมาใช้ตั้งแต่ พ.ศ.2495 เป็นต้นมา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2515 กรมแรงงานได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนเงินทดแทนขึ้น เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างเมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน ซึ่งนับว่าเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมในประเทศไทย ที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างในการทำงาน จนมาถึงวันที่ 3 กันยายน 2533 สำนักงานประกันสังคม จึงได้ก่อตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 โดยโอนงานของกรมประชาสงเคราะห์ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกันสังคม และงานของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนของกรมแรงงาน มาอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานประกันสังคม สังกัดกระทรวงมหาดไทย และได้โอนมาอยู่ในสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 (กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545) ซึ่งสำนักงานประกันสังคม ได้ยึดหลักการในการดำเนินงานประกันสังคม คือ

  • นายจ้างและลูกจ้างจะออกเงินสมทบร่วมกันส่วนรัฐบาลจะออกเงินอุดหนุนบางส่วน
  • การเข้าสู่โครงการประกันสังคมเป็นลักษณะบังคับ
  • การจัดตั้งกองทุนเพื่อนำไปจ่ายประโยชน์ทดแทนตามเงื่อนไขที่กำหนดและส่วนหนึ่งของเงินสมทบจะนำไปลงทุนเพื่อให้กองทุนมีสินทรัพย์มากขึ้น
  • สิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนเกิดจากการจ่ายเงินสมทบที่เป็นไปตามเงื่อนไข
  • อัตราเงินสมทบและประโยชน์ทดแทนมีความสัมพันธ์กับรายได้ของผู้ประกันตน

ในปัจจุบัน สำนักงานประกันสังคมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หลักประกันในการดำรงชีวิตแก่ผู้ประกันตนให้เกิดความมั่นคง ตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต และเสริมสร้างสังคมและประเทศชาติให้มีเสถียรภาพเป็นปึกแผ่น โดยให้ความคุ้มครองแก่สมาชิก 7 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร ตายที่ไม่เนื่องจากการทำงาน ชราภาพ สงเคราะห์บุตร และกรณีว่างงาน ผู้ประกันตนจะได้รับการคุ้มครองเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบเหตุ ที่ทำให้เดือดร้อนโดยจะให้ในรูปตัวเงิน (in cash) และบริการทางการแพทย์ (in kind) เพราะฉะนั้นเราจะกล่าวได้ว่า ระบบประกันสังคม เป็นหนึ่งในบริการด้านสวัสดิการสังคม เพื่อที่จะคุ้มครองป้องกันประชาชนที่มีรายได้ประจำ มิให้ได้รับความเดือดร้อนในความเป็นอยู่ของชีวิต เมื่อต้องสูญเสียรายได้ทั้งหมดหรือบางส่วน หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การครองชีพ

การเข้าระบบประกันสังคม
เอกสารที่แนบมาพร้อมกับการยื่นแบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง
กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด)

  • 1.สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์
  • 2.สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษี

เอกสารที่แนบมาพร้อมกับการยื่นแบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง

  • 1.กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด) 1.สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์
  • 2.สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ช.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
  • 3.แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
  • 4.หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)
  • 5.กรณีเจ้าของคนเดียว (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด) 1.สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
  • 2.สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
  • 3.สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกตามกฏหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน
  • 4.สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20)
  • 5.แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
  • 6.หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนประกันสังคม

เพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นคงในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชน โดยการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการออมและเสียสละเพื่อส่วนรวมมีหลักการสำคัญ ที่มุ่งให้ประชาชนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือตนเอง และครอบครัวในยามที่ไม่มีรายได้ รายได้ลดลงหรือมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น โดยไม่เป็นภาระให้ผู้อื่นและสังคม การประกันสังคมจึงเป็นมาตรการหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิต

ศูนย์สารนิเทศ ประกันสังคม โทร. 1506 www.sso.go.th

ปฎิทินหน้าที่ขององค์กรธุรกิจที่เป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ที่น่าสนใจ มีดังนี้

ภายในวันที่ 7 ของเดือน ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.3,ภ.ง.ด.53

ภายในวันที่ 15 ของเดือน ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30, ภ.ธ.40,และยื่นแบบ สปส.1-10

ภายในวันที่ 31 มกราคม ต้องส่งเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามใบประเมิน

ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1ก , ภ.ง.ด.3ก

ภายในวันที่ 31 มีนาคม ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 , ภ.ง.ด.91

ภายในวันที่ 30 กันยายน ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94