การจดทะเบียนพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติทะบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดาคนเดียว หรือหลายคน (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) หรือนิติบุคคล รวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมาย ต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ซึ่งประกอบกิจการอันเป็นพาณิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด
กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ออกประกาศให้ผู้ประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ
- ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
- ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่ง ขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาท ขึ้นไปหรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
- นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
- ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
- ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม
- ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
- ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
- ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ต ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
- การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
- การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
- การให้บริการตู้เพลง
- โรงงานแปรสภาพ แกะสลักและการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
มีพาณิชยกิจบางอย่างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ คือ
- การค้าเร่ การค้าแผงลอย
- พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
- พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
- พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
- พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
- พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้แก่
6.1 บริษัทจำกัด ห้งหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ จดทะเบียน ที่เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท และได้ยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนบริษัทไว้แล้วต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ยกเว้นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ที่ประกอบกิจการต่อไปนี้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย
- (1) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
- (2) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
- (3) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต บริการอินเตอร์เน็ต ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- (4) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเตอร์เน็ต
- (5) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
- (6) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
- (7) การให้บริการตู้เพลง
- (8) โรงงานแปรสภาพ แกะสลักและการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
- 6.2 พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515
หน้าที่ของผู้ประกอบกิจการ
- ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้น
- ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
- ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาโดยเปิดเผย ภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษรต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า "สาขา" ไว้ด้วย
- ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน
- ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ
ห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ องค์กรในการประกอบกิจการค้ารูปแบบหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมกับกิจการค้าขนาดกลางและขนาดย่อมโดยการจัดตั้งต้องจดทะเบียนและมีสถานะเป็นนิติบุคคล และลักษณะของห้างห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นดังนี้
- มีหุ้นส่วนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
- หุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 จำพวก คือไม่จำกัดความรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด กับหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงทุน
- หุ้นส่วนทุกคนต้องมีเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานมาร่วมลงทุนและ
- มีความประสงค์จะแบ่งกำไรที่ได้มาจากการร่วมกันประกอบกิจการค้า
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
- 1. ทำความตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนในเรื่องสำคัญๆ เนื่องจากห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นการประกอบกิจการค้าโดยมีคนหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้องดั้งนั้น เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างประกอบการค้า ผู้ป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงทำความตกลงกันในเรื่องสำคัญๆ ดังต่อไปนี้ไว้ก่อนให้ชัดเจน
- 1.1 จำนวนเงินลงทุนหรือสิ่งที่หุ้นส่วนแต่ละคนนำมาลงทุน(ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สินหรือแรงงานก็ได้ ยกเว้นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดจะลงทุนด้วยแรงไม่ได้ การลงทุนด้วยทรัพย์สินหรือแรงงานต้องตีราคาเป็นจำนวนเงินและกำหนดเวลาชำระเงินหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำมาลงทุน(ควรชำระให้ครบก่อนการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน)
- 1.2 กำหนดขอบเขตหรือกรอบของกิจการค้าที่จะให้หุ้นส่วนจำกัดสามรถประกอบได้ หรือที่เรียกว่า "วัตถุประสงค์"ในปัจจุบันส่วนมากจะกำหนดวัตถุประสงค์ไว้เป็นจำนวนมากๆคล่องตัวในการเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนกิจการค้าจะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการดำเนินการจดทะเบียนเพิ่ม หรือเปลี่ยนวัตถุที่ประสงค์แต่การจดทะเบียนวัตถุที่ประสงค์ไว้เป็นจำนวนมากๆนั้นอาจไม่ผลดี เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารประกอบกิจการค้าที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ถนัด และให้อำนาจขวางมากเกินไป
- 1.3 แต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ (หุ้นส่วนผู้จัดการคือผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งต้องแต่งตั้งจากหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดชอบเท่านั้น)
- 1.4 การแบ่งส่วนผลกำไรและขาดทุน
- 1.5 เรื่องอื่นๆ เช่น หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาจัดตั้งห้างเดิม สถานที่ที่จะใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ข้อจำกัดในการใช้อำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ และการตั้งผู้สอบบัญชี เป็นต้น
- 2. ขอตรวจสอบและจองชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด เนื่องจากในปัจจุบันมีการประกอบกิจการในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อที่คล้ายหรือซำกัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดขึ้นใหม่ต้องตรวจและจองชื่อนิติบุคคลก่อนจะจดทะเบียนจัดตั้ง
- 3. จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ เมื่อชื่อที่จะดทะเบียนผ่านการตรวจและตอบรับจ่ากเจ้าหน้าที่ว่าไม่คล้านหรือซ้ำกับนิติบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนต้องกรอกรายบะเอียด (โดยวิธีการพิมพ์) ในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามความเป็นจริงในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียน
บริษัท... จำกัด
บริษัทจำกัด คือ องค์กรทางการค้ารูปหนึ่ง ซึ่งเหมาะสำหรับกิจการการค้าที่ขนาดกลางและขนาดใหญ่ และโดยเฉพาะในการประกอบกิจการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากต่างประเทศจะคุ้นเคยกับรูปแบบบริษัทจำกัดมากกว่าห้างหุ้นส่วน และบริษัทจำกัดมีลักษณะเป็นดังนี้
- 1.มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
- 2.บริษัทจำกัดจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นๆ ละเท่าๆ กัน
- 3.ผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบจำกัดในหนี้ของบริษัทจำกัดไม่เกินจำนวนเงินตามมูลค่าหุ้นที่ตนถืออยู่และยังส่งใช้ไม่ครบเท่านั้น
- 4.การจัดตั้งบริษัทจำกัดจะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
การจองใช้ชื่อนิติบุคคล สามารถทำได้ 2 วิธี
วิธีแรก ใช้แบบพิมพ์ที่นายทะเบียนกำหนด ซึ่งการจองชื่อจะขอจองได้คราวละไม่เกิน 3 ชื่อ เรียงลำดับความต้องการก่อนและหลัง เมื่อได้ชื่อแล้วก็ยื่นต่อนายทะเบียนเพื่อรอให้ตรวจสอบหากชื่อไม่ซ้ำกับชื่อของนิติบุคคลอื่น หรือเป็นชื่อที่ห้ามตามกฎหมาย นายทะเบียนก็จะอนุมัติชื่อเพื่อดำเนินการต่อไป
วิธีที่สอง เป็นวิธีที่สะดวกสำหรับปัจจุบัน คือการจองชื่อทางอินเตอร์เน็ต ที่เว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า คือ www.dbd.go.th ท่านสามารถสมัครเป็นสมาชิก และดำเนินการขอจองชื่อเช่นเดียวกับวิธีแรกได้เลย
ข้อแตกต่างคือท่านไม่ต้องเดินทางไปดำเนินการที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือทีสำนักทะเบียนธุรกิจ ให้เสียเวลาและค่าใช้จ่าย เมื่อได้หลักฐานที่นายทะเบียนออกมาให้แล้วท่านก็สามารถดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลต่อไป
การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดั้งนี้
- 1.ขอตรวจและจองชื่อบริษัทจำกัด ที่ประสงค์จะจัดตั้ง ชื่อภาษาไทยและชื่อภาษาอังกฤษ ต้องมีความหมายถูกต้องตรงกัน และมีคำเขียนที่ถูกต้อง
- 2.จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิและนำหนังสือบริคณห์สนธิไปจดทะเบียน เมื่อชื่อบริษัทจำกัดที่ประสงค์จะจัดตั้งนั้นผ่านการตรวจสอบและตรวจรับจากเจ้าหน้าที่ว่าไม่คล้ายหรือซ้ำกับนิติบุคคลอื่นผู้ริเริ่มก่อตั้งบริษัทหรือที่เรียกว่า ผู้เริ่มก่อการ ซึ่งจะต้องมีอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป ต้องร้วมกันทำหนังสือบริคณห์สนธิและนำไปจดทะเบียน
- 3.ประชุมจัดตั้งบริษัท หลังจากจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและหุ้นทั้งหมดมีผู้จองซื้อครบแล้ว ให่ผู้เริ่มก่อการนัดผู้ซื้อหุ้นทุกคนประชุมจัดตั้งบริษัท เพื่อทำความตกลงในเรื่องต่างๆ เช่น ตั้งข้อบังคับบริษัท ให้สัตยาบันสัญญาหรืออนุมัติค่าใช้จ่ายที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำหรือออกไปแล้ว กำหนดจำนวนและสภาพของหุ้นบุริมสิทธิ (ถ้ามี) กำหนดจำนวนหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิที่จะออกทดแทนการลงทุนด้วยอย่างอื่นนอกจากเงิน เลือกแต่งตั้งกรรมการและกำหนดผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการลงชื่อแทนบริษัท แต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดเงินค่าจ้างเป็นต้น
- 4.ผู้เริ่มก่อการมอบกิจการงานทั้งหมดให้คณะกรรมการบริษัท
- 5.คณะกรรมการเรียกเก็บเงินค่าหุ้นจากผู้จองซื้อหุ้น โดยจะเรียกเก็บครั้งเดี่ยวเต็มมูลค่าหรือเรียกเก็บครั้งแรกไม่น้อยกว่าหุ้นละ 25% ก็ได้
- 6.จัดทำคำขอและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
หน้าที่ของบริษัทจำกัด
- 1.บริษัทจำกัด ต้องทำงบการเงินอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน โดยมีผู้สอบบัญชีอย่างน้อยหนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน ทั้งนี้รวมถึงบริษัทที่แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
- 2.จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ประชุมใหญสามัญผู้ถือหุ้น และให้นำส่งต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ประชุม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- 3.ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ ภายหลัง 6 เดือน นับแต่วันจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และจัดประชุมครั้งต่อไปอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกระยะเวลา 12 เดือน
- 4.ต้องจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- 5.ต้องจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
จดทะเบียนเปลี่ยนแปลง
รายการจดทะเบียนที่ต้องยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง มีดังนี้
- 1. เลิกชนิดประกอบกิจการ บางส่วน และ/หรือเพิ่มใหม่
- 2. เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ
- 3. ย้ายสำนักงานใหญ่
- 4. เปลี่ยนผู้จัดการ
- 5. เจ้าของหรือผู้จัดการย้ายที่อยู่
- 6. เพิ่มหรือลดเงินทุน
- 7. ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขา โรงเก็บสินค้า หรือตัวแทนค้าต่าง
- 8. อื่นๆ เช่น เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล หรือรายการที่จดทะเบียนไว้ไม่ตรงตามข้อเท็จจริง
รายการจดทะเบียนที่ห้างหุ้นส่วนจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
- 1. ชื่อห้างหุ้นส่วน
- 2. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
- 3. วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
- 4. ผู้เป็นหุ้นส่วน
- 5. หุ้นส่วนผู้จัดการ
- 6. ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ
- 7. ตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน
- 8. รายการอื่นๆ ที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ
- 9. ควบห้างหุ้นส่วน
รายการจดทะเบียนที่บริษัทจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
- 1. การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการตั้งบริษัท
- 2. มติพิเศษของบริษัทให้
- (1) เพิ่มทุน
- (2) ลดทุน
- (3) ควบบริษัท
- 3. ควบบริษัท
- 4. แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิภายหลังตั้งบริษัท
- 5. เพิ่มทุน
- 6. ลดทุน
- 7. กรรมการ
- 8. จำนวนหรือชื่อกรรมการชื่อลงชื่อผูกพันบริษัท
- 9. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
- 10. ตราของบริษัท
- 11. รายการอื่นที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ
การขอหมายเลขผู้เสียภาษี
บุคคลธรรมดา ได้แก่
- ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (แต่ปัจจุบันใช้เลขบัตรประชาชนแทน)
- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
คณะบุคคล คณะบุคคลที่ไม่ใช่บุคคล
นิติบุคคล ได้แก่
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายไทย
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายของต่างประเทศ และกระทำกิจการในประเทศไทย หรือ ทำกิจการขนส่งผ่านประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย กิจการร่วมค้า
- กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยองค์การ หรือรัฐบาลต่างประเทศ
- มูลนิธิหรือสมาคม(เฉพาะที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายไทย) ที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิ หรือ สมาคม ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสาธารณกุศล
- ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้ ได้แก่ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินทุกประเภท ซึ่งมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยผู้จ่ายเงินได้ ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ หน่วยงานของราชการ รัฐวิสาหกิจ เทศบาล สุขาภิบาล สหกรณ์ โรงเรียนราษฏร์ มูลนิธิหรือสมาคม ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล เป็นต้น
ขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีเมื่อใด
บุคคลธรรมดา ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ยังไม่เคยมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ให้ยื่นคำร้อง(ลป.10)ขอมีเลขฯและ บัตรฯ ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือวันที่เริ่มประกอบกิจการในประเทศไทยแล้วแต่วันใด จะเป็นวันหลัง
หลักฐานและเอกสารในการขอมีเลขฯและบัตรฯ แบบคำร้อง ลป. 10 และเอกสารประกอบแยกเป็นกรณีดังนี้
บุคคลธรรมดา
- สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- หนังสือรับรองและยินยอมให้ใช้ที่อยู่จากที่ทำงาน หรือจากที่พักอาศัย หากมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด(ถ่ายสำเนา ทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านด้วย)
- หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่อาจมาด้วยตนเอง)
- ถ้านิติบุคคลขอเลขฯ และบัตรฯ แทนพนักงาน ให้แนบสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลจาก กระทรวงพาณิชย์ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของกรรมการผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจลงนาม
คณะบุคคล
- สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ร่วมคณะทุกคน
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งคณะบุคคล
- สำเนาสัญญาหรือข้อตกลงการจัดตั้งคณะบุคคล (ถ้ามี)
- หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้มีอำนาจไม่อาจมาด้วยตนเอง)
นิติบุคคล
- สำเนาหรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์
- สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของกรรมการผู้จัดการ หรือผู้มีอำนาจลงนาม
- หนังสือยินยอมจากเจ้าบ้านหรือเจ้าของสถานที่ หรือสัญญาเช่า แล้วแต่กรณี
- สำเนาบัตรและทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านหรือของผู้ให้เช่า
- กรณีไม่มีเจ้าบ้าน ให้แนบสัญญาซื้อขาย พร้อมทะเบียนสถานที่ประกอบการ
- หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้มีอำนาจไม่อาจมาด้วยตนเอง)
สถานที่ยื่นคำร้องขอมีเลข(หน่วยออกบัตรฯ) ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่ฝ่ายกรรมวิธีสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ (สพท.) ทุกแห่ง หรือ ที่ฝ่ายเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของกองกรรมวิธีแบบแสดงรายการภาษี กรมสรรพากร (ไม่ใช่สำนักงานเขต ที่ยื่นเสีย ภาษี)
จังหวัดอื่น
- ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอเมือง หรืออำเภอที่ตั้งสำนักงานสรรพากรจังหวัด ให้ยื่นที่สำนักงานสรรพากรจังหวัด
- ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอบางละมุง ให้ยื่นที่สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ 9 ส่วนผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอหาด ใหญ่ ให้ยื่นที่สำนักงานภาษีสรรพากร พื้นที่ 10
- ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภออื่น ให้ยื่นคำร้องที่สำนักงานสรรพากรอำเภอ ที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่นั้น
- ผู้ที่มีภูมิลำเนาและสถานที่ทำงานอยู่ต่างจังหวัดกัน จะยื่นคำร้อง ณ หน่วยออกบัตรฯ ซึ่งมีสถานที่ทำงานตั้งอยู่ก็ได้
การจดทะเบียนภาษีมูลเพิ่ม
1.ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร
คะ บางคนก็สงสัย ว่า มันคืออะไร ก็คือ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 7 ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา 100 บาท และมีภาษีซื้อ 7 บาท เมื่อผลิตเป็นสินค้าขายในราคา 300 บาท ตอนขายไปจะต้องคิดหรือบวกภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 21 บาท ดังนี้ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน 21-7 = 14 บาท เป็นต้น ถ้าการซื้อ และขายเกิดขึ้นภายในรอบการจ่ายภาษีเดียวกัน
2.ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมือใด
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกว่า VAT ปัจจุบันมีอัตรา 7 % ภาษีมูลค่าเพิ่มบางกิจการได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดเพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน เนื่องจากถ้าให้เจ้าของกิจการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนี้จะถูกผลักไปที่ผู้บริโภค เช่น กิจการเกี่ยวกับการขนส่ง กิจการค้าผืชผลทางการเกษตร แต่บางครั้งเจ้าของกิจการไม่ทราบว่าต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เพราะดูก้ำกึ่ง ก็ควรสอบถามกับทางกรมสรรพากร แต่ถ้าหากใช้บริการสำนักงานบัญชี ซึ่งก็จะได้รับคำปรึกษาทางนี้ได้ บางกิจการที่ดูก้ำกึ่งเช่น กิจการจำหน่ายสุนัข และขายอุปกรณ์ในการดูแลสุนัข ต้องดูว่ารายได้หลักคืออะไร ถ้าหากขายอุปกรณ์เป็นรายได้หลัก ก็จะเข้าเกณฑ์ที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการขายอาหาร ก็ไม่ใช่เป็นการขายพืชผลทางการเกษตร แต่เป็นการขายสินค้า ซึ่งก็คืออาหาร ก็ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
หลักเกณฑ์ในการขอจดภาษีมูลค่า ก็คือ นิติบุคคลใด ที่มีรายได้ไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ก็ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากมีความประสงค์จะขอเข้าจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนก็ได้ แต่ถ้าเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มิฉะนั้นจะต้องถูกประเมินภาษี ผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สามารถออก ใบกำกับภาษี ให้กับลูกค้าได้ ดังนั้นจะพิจารณาว่า จะจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มดีหรือไม่ ให้พิจารณาจาก
- 1.ต้องการออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าหรือไม่ หรือลูกค้าต้องการใบกำกับภาษีจากเรา ดังนั้นเราต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มแน่นอน (เพราะผู้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีได้ ก็คือผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
- 2.มีรายได้ถึง 1,800,000 บาทหรือไม่ ถ้าถึง ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- 3.พิจารณาว่า กิจการเรา ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เช่น กิจการขนส่ง เป็นต้น
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว บุคคลธรรมดา ที่รับงานส่วนตัว และให้บริษัทหรือนิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นค่าจ้าง ค่าบริการ ฯลฯ ถ้าหากรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ก็ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน เรื่องนี้ต้องระวังเพราะถูกภาษีย้อนหลังกันเยอะ โดยส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ว่า บุคคลธรรมดาต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
หลักฐานและเอกสารในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เอกสารที่ต้องใช้ดังนี้
นิติบุคคล(บริษัท,ห้าง)
- 1..สำเนาหนังสือรับรองพร้อมวัตถุประสงค์ ไม่เกิน 1 เดือนและใบสำคัญการจดทะเบียน เซ็นรับรองประทับตรา
- 2..สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของกรรมการตามอำนาจในหนังสือรับรอง
- 3.สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ (กรณีเป็นบริษัท)และบัญชีผู้หุ้น (บอจ.5)
- 4.สำเนารายงานการประชุมหรือข้อบังคับ(กรณีเป็นบริษัท)
- 5.สำเนาสัญญาเช่า(กรณีเช่า)หรือหนังสือยินยอมที่ตั้งประกอบการ พร้อมหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย,โฉนดที่ดิน
- 6. สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ประกอบการ
- 7.สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ให้เช่าหรือผู้ให้ความยินยอมแล้วแต่กรณี
- ถ้าเช่า ต้องเช่าในนามนิติบุคคล(บริษัท,ห้าง)และติดอากรให้เรียบร้อย(1000ละ1บาท/เดือน/ปี)
- 8.แผนที่ตั้งและภาพถ่ายแสดงให้เห็นป้ายชื่อบริษัทและเลขที่สถานที่ตั้งสำนักงาน
- 9.-หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่อาจมาด้วยตนเอง)
- 10.แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภพ.01) (ผู้จดทะเบียนเตรียมให้)
อนึ่ง
ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในวันจดทะเบียน ต้องนำเอกสารตัวจริงทุกอย่างไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย ดังนี้
- 1.หนังสือรับรองพร้อมวัตถุประสงค์
- 2.หนังสือบริคณห์สนธิ (กรณีเป็นบริษัท)
- 3.รายงานการประชุม(กรณีเป็นบริษัท)
- 4.บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของกรรมการ,หุ้นส่วนผู้จัดการ
- 5.บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน
- 6.สัญญาซื้อขายหรือโฉนดที่ดิน
- 7.ทะเบียนบ้านสถานที่ประกอบการ
สถานที่ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในเขตกรุงเทพมหานคร
- ให้ยื่นที่ฝ่ายทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ (สพท.) ทุกแห่ง
- ยื่นขอจดทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ททางเว็บไซด์สรรพรกร http://rdserver.rd.go.th/online/regFrameset5.html
จังหวัดอื่น
- ให้ยื่นจดทะเบียนที่ตั้งสรรพากรอำเภอหรือให้ยื่นที่สำนักงานสรรพากรจังหวัด
- ยื่นขอจดทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ททางเว็บไซด์สรรพรกร http://rdserver.rd.go.th/online/regFrameset5.html
อนึ่ง
- ในการจดทะเบียนผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้น จะอนุมัติการจดทะเบียน ล่าช้าไปประมาณ 15 วัน
ระบบประกันสังคม
ระบบประกันสังคม (Social Security) หนึ่งในบริการด้านสวัสดิการสังคมของไทย
การดำเนินงานของการประกันสังคมมีอยู่ในหลายๆ ประเทศ ซึ่งในปัจจุบันได้มีหลักการ ที่ไม่แตกต่างกัน เนื่องจากการประกันสังคมเป็นโครงการการบริการทางสังคมระยะยาวอีกระบบหนึ่งที่รัฐเป็นผู้ดำเนินการจัดขึ้น ด้วยการให้ประชาชนผู้มีรายได้แต่ละคนได้มีส่วนช่วยตนเองหรือครอบครัว โดยร่วมกันเสี่ยงภัยหรือช่วยเหลือบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนซึ่งกันและกันระหว่าง ผู้มีรายได้ในสังคม โดยมีนายจ้าง ลูกจ้าง และในบางประเทศมีรัฐบาลร่วมออกเงินสมทบเข้ากองทุนนี้ด้วย กองทุนนั้นจะจ่ายประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ส่งเงินสมทบเมื่อเกิดความเดือดร้อน เช่น เจ็บป่วย คลอดบุตร ว่างงาน ชราภาพ เป็นต้น
ประเทศไทย ได้มีความพยายามที่จะนำระบบประกันสังคมมาใช้ตั้งแต่ พ.ศ.2495 เป็นต้นมา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2515 กรมแรงงานได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนเงินทดแทนขึ้น เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างเมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน ซึ่งนับว่าเป็นก้าวแรกของการประกันสังคมในประเทศไทย ที่ให้หลักประกันแก่ลูกจ้างในการทำงาน จนมาถึงวันที่ 3 กันยายน 2533 สำนักงานประกันสังคม จึงได้ก่อตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 โดยโอนงานของกรมประชาสงเคราะห์ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกันสังคม และงานของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนของกรมแรงงาน มาอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานประกันสังคม สังกัดกระทรวงมหาดไทย และได้โอนมาอยู่ในสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 (กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2545) ซึ่งสำนักงานประกันสังคม ได้ยึดหลักการในการดำเนินงานประกันสังคม คือ
- นายจ้างและลูกจ้างจะออกเงินสมทบร่วมกันส่วนรัฐบาลจะออกเงินอุดหนุนบางส่วน
- การเข้าสู่โครงการประกันสังคมเป็นลักษณะบังคับ
- การจัดตั้งกองทุนเพื่อนำไปจ่ายประโยชน์ทดแทนตามเงื่อนไขที่กำหนดและส่วนหนึ่งของเงินสมทบจะนำไปลงทุนเพื่อให้กองทุนมีสินทรัพย์มากขึ้น
- สิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนเกิดจากการจ่ายเงินสมทบที่เป็นไปตามเงื่อนไข
- อัตราเงินสมทบและประโยชน์ทดแทนมีความสัมพันธ์กับรายได้ของผู้ประกันตน
ในปัจจุบัน สำนักงานประกันสังคมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หลักประกันในการดำรงชีวิตแก่ผู้ประกันตนให้เกิดความมั่นคง ตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต และเสริมสร้างสังคมและประเทศชาติให้มีเสถียรภาพเป็นปึกแผ่น โดยให้ความคุ้มครองแก่สมาชิก 7 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร ตายที่ไม่เนื่องจากการทำงาน ชราภาพ สงเคราะห์บุตร และกรณีว่างงาน ผู้ประกันตนจะได้รับการคุ้มครองเมื่อเจ็บป่วยหรือประสบเหตุ ที่ทำให้เดือดร้อนโดยจะให้ในรูปตัวเงิน (in cash) และบริการทางการแพทย์ (in kind) เพราะฉะนั้นเราจะกล่าวได้ว่า ระบบประกันสังคม เป็นหนึ่งในบริการด้านสวัสดิการสังคม เพื่อที่จะคุ้มครองป้องกันประชาชนที่มีรายได้ประจำ มิให้ได้รับความเดือดร้อนในความเป็นอยู่ของชีวิต เมื่อต้องสูญเสียรายได้ทั้งหมดหรือบางส่วน หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การครองชีพ
การเข้าระบบประกันสังคม
เอกสารที่แนบมาพร้อมกับการยื่นแบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง
กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด)
- 1.สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์
- 2.สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษี
เอกสารที่แนบมาพร้อมกับการยื่นแบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง
- 1.กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด) 1.สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์
- 2.สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ช.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
- 3.แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
- 4.หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)
- 5.กรณีเจ้าของคนเดียว (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด) 1.สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
- 2.สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
- 3.สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกตามกฏหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน
- 4.สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20)
- 5.แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
- 6.หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนประกันสังคม
เพื่อสร้างหลักประกันและความมั่นคงในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชน โดยการเฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการออมและเสียสละเพื่อส่วนรวมมีหลักการสำคัญ ที่มุ่งให้ประชาชนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือตนเอง และครอบครัวในยามที่ไม่มีรายได้ รายได้ลดลงหรือมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น โดยไม่เป็นภาระให้ผู้อื่นและสังคม การประกันสังคมจึงเป็นมาตรการหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิต
ศูนย์สารนิเทศ ประกันสังคม โทร. 1506 www.sso.go.th
ปฎิทินหน้าที่ขององค์กรธุรกิจที่เป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ที่น่าสนใจ มีดังนี้
ภายในวันที่ 7 ของเดือน ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.3,ภ.ง.ด.53
ภายในวันที่ 15 ของเดือน ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30, ภ.ธ.40,และยื่นแบบ สปส.1-10
ภายในวันที่ 31 มกราคม ต้องส่งเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามใบประเมิน
ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.1ก , ภ.ง.ด.3ก
ภายในวันที่ 31 มีนาคม ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 , ภ.ง.ด.91
ภายในวันที่ 30 กันยายน ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94