- 1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย15 ปี
- 2. ผู้เป็นบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย ประโยชน์ที่เกิดจากการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
- 3. กรณีผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจาก
- 3.1 บิดาและมารดา กรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา
- 3.2 บิดาหรือมารดา กรณีที่มารดาหรือบิดาตาย หรือถูกถอนอำนาจการปกครอง
- 3.3 กรณีไม่มีผู้ให้ความยินยอม ผู้แทนโดยชอบธรรมหรืออัยการจะร้องขอต่อศาล ให้มีคำสั่งให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแทนได้
- 3.4 กรณีผู้เยาว์ถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานพยาบาลหรือสถาบัน ซึ่งทางราชการหรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรับรองในการจัดตั่งขึ้น หรืออยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบุคคลใดมาเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 1 ปีต้องได้รับความยินยอมของผู้รับผิดชอบในกิจการสถานพยาบาล หรือของบุคคลดังกล่าว
- 4. ผู้จะรับบุตรบุญธรรม หรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อนแต่หากมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้ ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำอนุญาตแทนคือ
- 4.1คู่สมรสไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้
- 4.2คู่สมรสไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครได้รับข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
- 5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น
ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1. ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะตามกฎหมายแล้ว
ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรม ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขตแห่งใดก็ได้ และสำหรับผู้รับบุตรบุญธรรม และบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
กรณีที่ 2. ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์
ผู้ที่รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร(รวมทั้งชาวต่างประเทศ) ให้ยื่นคำขอ ณ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม (กรมประชา สงเคราะห์) และสำหรับผู้มีภูมิลำเนาในจังหวัดอื่นยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด พร้อมหนังสือยินยอมจากบุคคลผู้มีอำนาจให้ความยินยอม
สำหรับชาวต่างประเทศที่มีภูมิลำเนาถาวรอยู่ในต่างประเทศ ให้ยื่นคำขอผ่านหน่วยงานประชาสงเคราะห์ หรือองค์การสังคมสงเคราะห์ที่รัฐบาลของประเทศนั้นมอบหมายให้ดำเนินการในเรื่องบุตรบุญธรรม
- เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้วให้ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุธรรม ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนดังกล่าว
- ผู้ที่จะรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอม
- เด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรม อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องลงนามในช่องผู้ร้องขอจดทะเบียนด้วย
- ผู้เป็นบุตรบุญธรรม มีสิทธิ์ใช้ชื่อสกุล และมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิ์รับมรดกของบุตรบุญธรรม
- ผู้รับบุตรบุญธรรม มีอำนาจปกครองให้ความอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรมและถือว่าบุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานของผู้รับบุตรบุญธรรมเสมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฏหมาย นับแต่วันจดทะเบียน
- บิดามารดาโดยกำเนิด หมดอำนาจปกครองนับแต่วันจดทะเบียนแต่ไม่ขาดจากการเป็นบิดามารดาและบุตรบุญธรรมไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่กำเนิดมา
การเตรียมหลักฐานการขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ( ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามกฎหมาย )
- 1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการผู้ขอรับเด็ก คู่สมรส บิดามารดาเด็ก และเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไป
- 2.ทะเบียนบ้านของผู้ขอรับเด็ก คู่สมรส บิดามารดาเด็ก และเด็กที่เป็นบุตรบุญธรรม
- 3.ทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่า ( บันทึกข้อตกลงการหย่า ) ของผู้ขอรับเด็ก หรือบิดามารดาเด็ก
- 4.สูติบัตรเด็ก
- 5.ใบรับรองแพทย์ผู้ขอรับเด็ก และคู่สมรส จำนวน 2 ฉบับ ( ฉบับที่รับรองว่ามีร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ และผลการทดสอบสภาพจิตตามกระบวนการทดสอบทางจิตวิทยา )
- 6. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล หรือใบมรณบัตรของผู้ที่เกี่ยวข้อง
- 7.รูปถ่ายขนาด 4.5*6 ซ.ม. 1*1.5 นิ้ว คนละ 2 รูป ( ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน ) ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ยกเว้นผู้รับรอง
- 8.ผลการตรวจสอบประวัติอาชญากร ( ศูนย์ฯบุตรบุญธรรมจะมีหนังสือประสานสถานีตำรวจเพื่อให้พิมพ์ลายนิ้วมือ )
- 9.พยานเพื่อสอบสถานภาพการสมรสของมารดาเด็ก จำนวน 2 คน พร้อมบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน
- 10.ทะเบียนรับรองบุตร
- 11.คำสั่งศาล และหนังสือรับรองคำสั่งศาล
- 12.หนังสือยินยอมของบุตรผู้ขอรับเด็ก พร้อมหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน
- 13.สำเนาหลักทรัพย์ หรือภาพถ่ายสภาพบ้าน พร้อมแผนการเลี้ยงดูเด็ก พร้อมผู้รับรองคุณสมบัติของผู้ขอรับเด็กอย่างน้อย 1 คน พร้อมหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ ( กรณีรับเด็กกำพร้า )
- 14.หนังสือเดินทาง / หนังสือรับรองการทำงาน ( ฉบับภาษาอังกฤษและแปลเป็นภาษาไทยที่ผ่านการรับรองการแปลของผู้ขอรับเด็กและคู่สมรส
- 15.แผนที่บ้านของผู้ขอรับเด็ก
สถานที่ติดต่อ กรุงเทพมหานคร ติดต่อที่ทำการเขตในแตละเขต
ต่างจังหวัด ติดต่อต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานประชาสงเคราหะในแต่ละจังหวัด